เมนู

ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อม
รู้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ... ความริษยาอัน ชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้.
จบกายสูตรที่ 3

อรรถกถากายสูตรที่ 3


กายสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาปนฺโน โหติ กญฺจิกาย เทสํ ความว่า เป็นผู้ต้องส่วน
แห่งอาบัติบางอย่าง. บทว่า อนุวิจฺจ ได้แก่ เข้าไปพิจารณา คือดูรอบคอบ
แล้ว. บทว่า กายทุจฺจริตํ ได้แก่ กายทุจริต 3 อย่าง. บทว่า
วจีทุจฺจริตํ ได้แก่ วจีทุจริต 4 อย่าง. บทว่า ปาปิกา อิสฺสา ได้แก่
ความริษยาอันทราม. บทว่า ปญฺญาย ทิสฺวา ทิสฺวา ได้แก่ มองเห็น
แล้วพึงละเสียด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า อิชฺฌติ
แปลว่า สำเร็จพร้อม. บทว่า อุปวาสสฺส ได้แก่ ผู้เข้าไปอาศัยอยู่. บทว่า
อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำย่ำยี. บทว่า อิริยติ ได้แก่ เป็นไป. ในพระสูตร
นี้ ตรัสมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา.
จบอรรถกถากายสูตรที่ 3

4. มหาจุนทสูตร


ว่าด้วยพระมหาจุนทะสอนภิกษุ


[24] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะ อยู่ที่ชาติวัน ในแคว้นเจตี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุ